จำหน่าย: ขายหนอนนก ราคาปลีก-ส่ง , ขายหนอนนกราคาถูก, หนอนนก, ขายปลีกหนอนนก

# ข้อควรระวังในการเพาะหนอนนก

ข้อควรระวังในการเพาะหนอนนก
  1.  นก  หนู  อาจเข้ามารบกวนหนอนได้
  2. ระวังอาหารหนอน เช่น แตงกวา  หรือผัก อาจจะเน่าได้  ควรหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ และให้กินจนหมดเป็นวัน ๆ ไป
  3. รำแป้งสาลีอาจจะมีมอดปนมาด้วย  มันจะบินไปทั่วบ้าน  ควรนึ่งรำแป้งสาลีป้องกันมอดเสียก่อน
  4. อาหารพิเศษของหนอนนกคือ รำแป้งสาลี 50 % อาหารไก่เล็ก นำมาตำให้ละเอียด 50 % ผสมกันเป็นอาหารโปรตีนที่ช่วยให้หนอนนกเจริญเติบโตเร็ว
  5. รำแป้งสาลีราคาแพงมาก  ควรนำรำข้าวจ้าวผสมได้ด้วยเพื่อลดต้นทุน 
  6. ในช่วงระยะการขุนหนอนให้โตเร็วควรให้ ข้าวสุก หรือกล้วยน้ำหว้า จะช่วยให้หนอนโตเร็ว



ข้อมูลจาก
skb.ac.th

# ตลาดหนอนนก

ภาวะตลาดของหนอนนกจะเป็นไปตามความต้องการของตลาด    ถ้าหากเป็นสภาวะปกติตกราคากิโลกรัมละ 100 - 120 บาท  แต่ถ้าหากเป็นฤดูฝนราคาของหนอนนกจะสูงขึ้นถึง 200 - 300  บาท
อย่างไรก็ตามตลาดหนอนนกจะต้องการตลอดปี  เนื่องจากสัตว์เลี้ยงสวยงามจำเป็นต้องใช้หนอนนกเป็นอาหารทุกวัน  ยิ่งมีผู้นิยมเลี้ยงสัตว์ประเภทสวยงาม  เช่น  นก  ปลา  ไก่  หรือสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ที่ต้องใช้หนอนนกเป็นอาหารก็จะมีความต้องการมากขึ้น
ตลาดหนอนนกที่มีหนอนขาย  เช่น  ตลาดขายสัตว์เลี้ยงสวยงามทั่ว ๆ ไป โดยเฉพาะตลาดจตุจักรในวันเสาร์ อาทิตย์  หรือ  ตามร้านค้าที่ขายสัตว์เลี้ยงทั่ว ๆ ก็สามารถหาซื้อได้  โดยเฉพาะต่างจังหวัด  เช่น ทางภาคใต้ซึ่งเป็นจังหวัดมีผู้นิยมเลี้ยงนก  เลี้ยงปลา  และเลี้ยงไก่สวยงามกันมากความต้องการหนอนก็จะยังมีความต้องการมากขึ้นด้วย  ยิ่งประเทศมาเลเซีย ที่นิยมเลี้ยวปลาสวยงามและเลี้ยงนกกันมากตลาดทางภาคใต้ยิ่งต้องการหนอกมากตามไปด้วย
ในอนาคตการเลี้ยงหนอนจะขยายตัวกว้างขึ้นตามความนิยมเลี้ยงสัตว์สวยงาม   ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงหนอนชนิดนี้จำนวนน้อยและยังไม่กว้างขวาเหมือนกับการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ จึงเป็นโอกาสดีของผู้ที่ต้องการจะเริ่มต้นเลี้ยงหนอนชนิดนี้


ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# วงจรชีวิตของหนอนนก

วงจรชีวิตของหนอนนก


# ระยะเป็นไข่ (Egg)



# ระยะตัวหนอน (Larvae)







ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# ลักษณะเพศของหนอนนก

ในระยะตัวอ่อนจนถึงระยะดักแด้นั้น  ยังไม่สามารถแยกเพศของหนอนนกได้  จะแยกเพศได้ก็ต่อเมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้ว  เพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียเล็กน้อย  เมื่อใช้มือบีบบริเวณก้นของตัวเต็มวัยเพศผู้จะมีแหลม ๆ สองอันออกมา  เพศเมียจะไม่มี



ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# ระยะตัวโตเต็มวัย (Adult)

หลังจากเข้าดักแด้แล้ว 6 - 8 วัน  จะมีการลอกคราบอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อออกมาเป็นตัวเต็มวัย  โดยดันตัวออกมาส่วนหัวจะออกมาก่อน  ตัวเต็มวัยที่ออกมาจากดักแด้ใหม่ ๆ มีลำตัวสีขาวนวล  ด้านท้องบริเวณอกจะมีสีเหลืองอ่อน  ส่วนหัว  ขา  และหนวด มีสีน้ำตาลเข็ม  นัยย์ตามีสีดำ  หลังจากนั้นส่วนต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม  จนกลายเป็นสีดำในที่สุด  ยกเว้นส่วนท้องจะมีสีน้ำตาลเข้ม
หลังจากนั้นตัวเต็มวัยที่ออกมาจากคราบใหม่ ๆ จะมีสีขาวนวลแล้วค่อย ๆ มีสีเข้มขึ้นจนกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม  หรือสีดำ  ตัวที่สมบูรณ์เพศมักจะมีสีดำมันวาวและตัวเต็มวัยจะอยู่ได้ 7 - 10 วัน



ระยะตัวเต็มวัย









ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# ระยะดักแด้ (Pupa)

ดักแด้หนอนนกจะเป็นแบบ Exarate Pupa ส่วนหัวโตแล้วค่อย ๆเรียวเล็กลงไปทางด้านหาง  เมื่อเข้าดักแด้ใหม่ ๆ ตัวจะเป็นสีขาว ลำตัวเหยียดตรง  หลังจากนั้นจะงอตัวทางด้านท้องแล้วเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน  จนกระทั่งเข็มขึ้นเรื่อย ๆ   ส่วนหัวพับเข้าหาส่วนอก  ส่วนปีกพับไปอยู่ระหว่างขาเดินคู่ที่สอง  และ คู่ที่สาม  จะนอนนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหว  นอกจากจะมีสิ่งรบกวน  อาจมีการเคลื่อนใหวบ้างเล็กน้อย โดยการดึงหน้าท้องเข้าออก   ระยะนี้ตัวจะอ่อนนุ่ม  แต่ในช่วงท้ายจะแข็ง  ในระยะดักแด้ใช้เวลา 6 - 8 วัน ก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย











ตัวอ่อนในระยะดักแด้จะเป็นสีขาวสังเกตกำลังลอกคราบ















ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# ระยะตัวหนอน (Larvae)

ระยะนี้ตัวจะยาวมาก  ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ จะมีสีขาว  ขนาดเท่าเส้นด้ายยาว 2 - 3 มิลลิเมตร  มีปล้องจำนวน  9  ปล้อง ปล้องสุดท้ายมีขนาดเล็ก  ลำตัวผอมยาว  ลักษณะคล้ายทรงกระบอก  ขาสั้น  เมื่อส่องด้วยกล้องจะมองเห็นเส้นข้างลำตัวเป็นสีน้ำตาลและบนเส้นบ้างลำตัวมีรูหายใจ  ปล้องละ  1  รู  จากนั้นจะค่อย  ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อน ใช้ระยะเวลาประมาณ 55 - 80 วันก็จะกลายเป็นตัวดักแด้









ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# ระยะเป็นไข่ (Egg)

ไข่ของหนอนนกมีลักษณะเป็นสีขาว  ค่อนข้างยาว  มีสีขาวนวล  ผิวเป็นมันรูปร่างรี  ขนาดประมาณ 0.8 - 1.8 มิลลิเมตร  จนถึงขนาด  1.5 - 2 มิลลิเมตร  ชอบวางไข่บริเวณก้นถาด  หรือติดกับอาหาร  สังเกตเห็นได้ยาก  ต้องอาศัยความชำนาญและสังเกตบ่อย ๆ การฟักตัวใช้เวลาประมาณ 7 - 10 วัน  จนเป็นตัวอ่อน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศ  ฤดูหนาวจะฟักออกเป็นตัวช้ากว่าฤดูร้อน



สีขาวเล็ก ๆ ค่อนข้างจะมองเห็นยากเป็นไข่



ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# ลักษณะทั่วไปของหนอนนก

หนอนนกเป็นแมลงปีกแข็ง ชื่อ  Meal - Beetle  เป็นแมลงที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นและเขตหนาว  ระยะเป็นตัวหนอนจะยาวนานจึงนำมาเป็นอาหารสัตว์เลี้ยงได้อย่างดี  ลักษณะทั่วไปของหนอนชนิดนี้  ลำตัวยาว 16 -17 มิลลิเมตร  ลำตัวกว้าง 6 มิลลิเมตร

            หนอนชนิดนี้เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง    อยู่ในอันดับเดียวกับแมลงปีกแข็งขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วหนอนที่เห็นนั้นเป็นตัวอ่อน  หนอนชนิดนี้เป็นศัตรูอย่างร้ายเกจของข้าวสาลี  เนื่องจากหนอนชนิดนี้กินข้าวสาลีเป็นอาหาร  







เนื่องจากเป็นหนอนที่มีโปรตีนสูงจึงมีกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงาม  เลี้ยงนก  เลี้ยงไก่  และสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ   นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์เลี้ยง ทำให้การเลี้ยงหนอนนกเป็นการเกษตรที่นำรายได้มาสู่เกษตรกรจำนวนมาก      ทำสำคัญอีกประการหนึ่งก็   คือ  หนอนนกเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายเจริญเติบโตรวดเร็วมาก  และขยายพันธุ์แต่ละครั้งได้จำนวนมากเช่นเดียวกับแมลงอื่นๆ


                                              หนอนนก  จัดอยู่ใน  Phylum  Arthopoda
                                                                            Class  Insecta
                                                                            Family  Tenebrionidae
                                                                            Genus   Tenebrio
                                                                            Species  moliter  Linnaeus



ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# อาหารหนอนนก

โดยธรรมชาติของหนอนนกจะกินรำข้าวสาลี  เนื่องจากเมืองไทยมีการปลูกข้าวสาลีน้อยมาก  มีการนำข้าวสาลีจากต่างประเทศเข้ามาจึงค่อนข้างจะหายาก  จึงมีการใช้รำข้าวจ้าว  หรืออาหารไก่กระทงเล็กพิเศษ  หรืออาหารไก่กระทงรุ่นก็ได้  นอกจากนั้นยังใช้อาหารเสริมเพิ่มให้ด้วย  เช่น  ผักกาดขาว  แตงกวา  มะละกอ  หรือผักอื่น ๆ ที่หาได้  แต่ต้องปราศจากยาฆ่าแมลง




ข้อมูลจาก
thaigoodview.com

# รู้จักกับ หนอนนก (Meal Worms)

หนอนนก

หนอนนกมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง ( ไขมัน , โปรตีน , รวมไปถึงแร่ธาตุ ต่าง ๆ อีกมากมาย ) นอกจากนี้แล้ว เราสามารถเพิ่มคุณค่าทางอาหารของหนอนนกได้ คือ การเลือกผักชนิดที่มีสารสีตามธรรมชาติ ได้แก่ แครอท , มะเขือเทศ , ขมิ้น หรือ อาหารปลาชนิดเม็ดที่มีสารเร่งสี เช่น อาหารเม็ดผสมสาหร่ายสไปรูลิน่า , ผสมกุ้ง , ผสม astaxantin นำมาเป็นวัตถุดิบ

.

โดยเราจะใช้อาหารเม็ดที่เตรียมไว้ หรือ หั่นผักเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ให้หนอนนกกิน เมื่อหนอนนกกินอาหารเหล่านั้นเข้าไปจนมีการเปลี่ยนแปลงสีของร่างกายก็จะนำไปให้ ปลากินอีกต่อหนึ่ง ปลาจะได้รับผักที่หนอนกินเข้าไปในรูปที่บดละเอียดแล้ว ทำให้ปลาสามารถย่อยได้ง่ายดูดซับสารอาหารเหล่านั้นได้ดี

.

สำหรับผักที่ให้น้ำเยอะ ๆ เช่น มะเขือเทศ ให้เอาส่วนที่เละ ๆ เช่น ไส้ในออกก่อน วางทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำจึงค่อยให้หนอนกิน เพราะน้ำในผักซึ่งมีจำนวนมากอาจจะทำให้หนอนนกจมน้ำตายได้ สัตว์เลี้ยงที่กินหนอนเข้าไปยังจะได้วิตามิน เกลือแร่ และ คุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์อื่น ๆ จำนวนมากเสริมจากผักอีกด้วย


วิธีการเก็บรักษาหนอน

1. เก็บไว้ในที่แห้งป้องกันไม่ให้ ” มด จิ้งจก และแมลงอื่น ๆ ” รบกวน

2. เว็บไว้ให้ห่างจากแสงแดด และ ฝน หรือมีอุณหภูมิสูงเกินไป

3. เก็บในภาชนะที่เป็นของแข็งผิวเรียบลื่น เพื่อป้องกันการปีนออก

4. ไม่ควรเก็บไว้ใน ภาชนะ ผลาสติกบาง ๆ เพราะหนอนอาจจะกัด กินพื้นผิว ภาชนะได้

5. เก็บในภาชนะที่มีฝาปิด และ หล่อน้ำไว้จะดีที่สุด

.

อื่นๆแนะนำ

ควรมีการทำความสะอาดภาชนะเลี้ยงและร่อนแยกหนอนแมลงออกจากสิ่งขับถ่ายอยู่เสมอ ๆ เพื่อสุขอนามัยของสัตว์เลี้ยง และเป็นช่วยลดการสูญเสียหนอนแมลงได้ด้วย ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง

.

อาหารของหนอนนก

สามารถให้ได้เกือบทุกอย่างอาจจะเป็น อาหารสัตว์สำเร็จรูป , ขนมปังแผ่น , มันแกว , เปลือกแตงโม , รำข้าว , หรือ หัวอาหารสัตว์ ต่าง ๆ อีก มากมาย



ข้อควรระวัง

แต่ควรระวังเรื่องของน้ำเพราะหนอนนกสามารถจมน้ำได้ง่าย เนื่องจากมีท่อหายใจอยู่ที่โคนขา หนอนนกที่เปียกน้ำอาจจะตายได้

.

ระวังเรื่อง ศัตรู ของหนอนนก

เนื่องจากหนอนนกเป็นอาหารที่สัตว์หลายๆ ชนิดหมายปอง เราจำเป็นต้องระวังสัตว์อื่นๆ ที่จะมากิน เช่น จิ้งจก , มด , แมงสาบ , มอด , หรือ นกชนิดอื่น ๆ

.

ขอขอบคุณที่มา บางส่วนจาก

ninekaow.com

thaipetonline.com

fishroom.org

aqua-medical.com

# เทคนิคการเพาะพันธุ์หนอนนก

เทคนิค การเพาะเลี้ยงหนอนนก แบบง่าย ๆ


เมื่อช่วงประมาณ 2 ก่อน ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกัน ว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับราคาของ “หนอนนก” รู้แต่ว่า ... อยู่ดี ๆ มันก็แพงชะมด เอ้ยยย... แพงชะมัด!!! จากราคาเดิม ๆ ที่เคยซื้อ ราคาดันพุ่งกระฉูดขึ้นมาอีก 2-3 เท่า ยิ่งถ้าตามร้านขายปลาทั่ว ๆ ไปที่รับมาขายอีกที ราคากระโดดไปเกิน 4 เท่าก็มีให้เห็น ... ซึ่งถ้าเป็นหุ้น ถ้าขึ้นขนาดนี้ คงรวยกันถ้วนหน้าแหละครับ

ส่วนสาเหตุของ “วิกฤติศรัทธา... หนอนนกขาดตลาด” เกิดจากอะไร อันนี้บอกตรง ๆ ว่าไม่รู้ครับ แต่ฟังคนขายบางคนบอกว่า ช่วงนั้นฝนตกหนักถึงหนักมาก แล้วไอ้เจ้าหนอนนก มันถูกกะความเปียก แฉะ หรือ ความชื้นสูง ๆ ซะที่ไหน ผลคือตาย (เกือบ) เรียบ ทำให้นอกจากแพงแล้ว หนอนนกยังไม่มีจะให้ซื้อให้ขายอีกด้วย

ให้มันได้งี๊ซิ ปกติตอนหนอนนกถูก ๆ ก็ไม่ได้คิดไรหรอกครับ... แต่พอราคามันพุ่งปรี๊ดดดดขึ้นมา ก็ทำให้หวนคิดถึงวิชาเก่า ๆ ในการเพาะหนอนนก ที่เคยได้ศึกษาจากผู้รู้มาอีกที วันดี คืนดี เลยอยากจะเอามาเผยแพร่ต่อสำหรับผู้ที่สนใจครับ !!!

เทคนิคการเพาะพันธุ์หนอนนก จะขออธิบายแบบง่าย ๆ ใช้ได้จริงเลยนะครับ

(1) ไปซื้อหนอนนกมา เหมือนจะเอามาให้ปลากินตามปกติ แต่อย่าเผลอตัวเอาไปให้กินเชียวนะครับ เพราะวันนี้เราจะเอามาทำการเพาะพันธุ์หนอนนกกัน นำเจ้าหนอนนกนี่แหละครับ มาใส่ไว้ในถาด (สูงหน่อยก็ดี กันมันกระดึ๊บ ๆ ออกมา) หรือ ตู้ปลาโล่ง ๆ อย่าให้แออัดกันเกินไป หลังจากนั้นก็ใส่ รำแป้งสาลี (มีความละเอียด+แพงกว่ารำทั่ว ๆ ไป) และ แตงกวา (อาจจะใช้โคนหัวผักกาด หรือ ผักที่มีน้ำเยอะ ๆ ชนิดอื่นแทนก็ได้) หั่นชิ้นเล็ก ๆ บาง ๆ หย่อนเข้าไปเพื่อให้หนอนนกได้ดูดดื่มน้ำในนั้นครับ

(2) เลี้ยงไปเรื่อย ๆ คอยสังเกตดูให้ดีนะครับ จะเห็นก้อนเศษ ๆ เป็นลูกกลม ๆ ขนาดจิ๋ว มากกกกกกกก (เล็กมากจนต้องเพ่งดู) มีขนาดสม่ำเสมอกัน สิ่งนั้นคือ ขี้หนอนนกครับ ถ้ามีเยอะมาก ๆ แสดงว่า อาหารหมดแล้ว ให้ทำการหาตะแกรงตาถี่ ๆ มาร่อน ๆ ๆ ๆ ๆ เอารำเก่าออกให้หมด ให้เหลือแต่หนอนนก แล้วเปลี่ยนใส่รำแป้งสาลีและผักชุดใหม่ให้มัน ขุนไปเรื่อย ๆ อาหารหมดก็เปลี่ยนอาหารให้มัน จนมันเปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นดักแด้ เมื่อเป็นดักแด้แล้วช่วงแรก ๆ งดอาหารไปก่อนครับ จนมันแปลงร่างเป็นเจ้าแมลงปีกแข็งสีดำ(ตัวเต็มวัย) แสดงว่า คุณได้พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์แล้ว
(3) ร่อนรำออกเพื่อแยกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ออกมา แล้วย้ายมันมาใส่ในถาดหรือตู้ใบใหม่ พร้อมอาหาร (รำแป้งสาลี กะ แตงกวาหั่น) ทิ้งไว้ประมาณ 1อาทิตย์ ให้มันจู๋จี๋กันให้สำราญญญญญ เมื่อเวลาผ่านไป ไวเหมือนโกหก 1 อาทิตย์ ต่อมา ก็ดำเนินการขั้นต่อไปได้เลยครับ !?!?!?

(4) จัดการร่อนพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ออกมาจากรำ คราวนี้ให้คุณหันมาสนใจรำที่ร่อนออกมานะครับ ในนั้นจะมีเจ้าลูกหนอนนกที่เรารอคอยฝังตัวรอโตอยู่เป็นที่เรียบร้อย แล้วล่ะ จากนั้นค่อย ๆ ใส่อาหารเข้าไปทีละนิด ๆ อย่าให้เยอะเกินไป และอย่าให้อาหารหมด (ประมาณ 1อาทิตย์เติมที) เวลาไม่นานมันจะเริ่มโตจนเรามองเห็นได้ แล้วตัวจะเริ่มใหญ่ขึ้น ๆ

สังเกตดูว่าเมื่อตัวมันใหญ่จนพอจะร่อนได้ ก็นำมาร่อนแล้วใส่อาหารชุดใหม่ต่อไป จากนั้นเลี้ยงรอจนมันโตให้ได้ขนาดตามที่เราต้องการ ซึ่งนับจากวันเกิดของเจ้าหนูหนอนนก ระยะเวลาประมาณ 45 วันขึ้นไป ก็จะถึงวัยพร้อมโดนหม่ำแล้วล่ะครับ(หรือจะเก็บเพื่อเพาะต่อไปก็ไม่ว่ากัน)
(5) กลับมาสนใจที่ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ อีกครั้ง หลังจากที่ร่อนออกจากรำจนให้ลูกชุดแรกมาแล้ว ก็กลับไปเริ่มที่ ข้อ 3 อีกครั้งครับ คือ ใส่อาหารเข้าไป แล้วให้มันจู๋จี๋กันอีก 1 อาทิตย์ แล้วร่อนเพื่อเอาลูกมันมาขุนต่อเหมือนเดิม เพาะไปได้เรื่อย ๆ จนกว่ามันจะตายน่ะครับ

ข้อควรระวัง

1. ระวังแตงกวา หรือ ผักจะเน่านะครับ หมั่นดูแลนิ๊ดดดนึง ที่สำคัญอย่าให้ชิ้นใหญ่ หรือ มีปริมาณน้ำมากเกินไป เพราะน้ำ อาจจะทำให้หนอนนกตายได้

2. รำแป้งสาลี ที่นำมาใช้ จะมีมอดปนมาเยอะมากกกกก ระวังมันจะบินว่อนทั่วบ้าน. แนะนำว่าก่อนจะใช้รำเพื่อเป็นอาหารของหนอนนก ควรจะนำมานึ่ง เพื่อพิฆาตมอดก่อนนะครับ...

3. อาหารสูตรพิเศษในการเลี้ยงหนอนนก คือ รำแป้งสาลี 50% + อาหารไก่เล็กเอามาตำ ๆ ป่น ๆ ให้ละเอียด 50% นำมาคลุกเคล้า ให้เข้ากัน ใช้เป็นสูตรอาหารโปรตีนสูง จะทำให้หนอนนกจะโตไวมากกกก

4. รำแป้งสาลีที่นำมาใช้เลี้ยงหนอนนกจะแพงกว่ารำทั่ว ๆ ไป หากต้องการลดต้นทุน ก็นำรำธรรมดา ๆ มาผสมกันได้ครับ เป็นการช่วยลดต้นทุนอีกวิธีหนึ่ง